กฎ 70:30 สำหรับเลี้ยงแพะไล่ทุ่ง
กฏ 70:30 ใช้เลี้ยงแพะไล่ทุ่ง
จากบทความที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะคงพอทราบกันมาบ้างแล้ว บทความนี้จะเพื่มเติมรายละเอียดที่ยังไม่ได้กล่าวถึง หรือจะขยายความทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งอีกเล็กน้อย
เกษตรผสมผสานบ้านนาทอง มีแนวคิดหลักปฎิบัติในการเลี้ยงแพะไล่ทุ่งคือ แพะต้องได้กินอาหารพืชสีเขียวเป็นหลัก ลดการใช้ของเหลือจากอุตสาหกรรมภาคการเกษตร เราเลี้ยงแพะวิธีอินทรีย์ ยึดโยงกับธรรมชาติมากที่สุด
รูปที่ 1 ป่าธรรมชาติแหล่งอาหารของแพะ
กฎ 70:30 เป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อน สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย นำไปใช้ภาคปฏิบัติได้ดี ที่สำคัญสุด เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะไม่งง นำไปใช้และตอบโจทย์ปัญหาการเลี้ยงแพะแบบไล่ทุ่งได้ดี
ปัญหาส่วนใหญ่การเลี้ยงแพะแบบไล่ทุ่งคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะมักปล่อยแพะกินหญ้าหรือใบไม้ จากพื้นที่รกร้าง ป่าหญ้าริมทาง ทั้งที่เป็นเจ้าของและเป็นของคนอื่น รวมถึงพื้นที่ของราชการ จากความเป็นจริงช่วงหน้าฝนทุกพื้นที่เขียวขจี ไปตรงจุดไหนมองเห็นแหล่งอาหารตัดให้แพะได้กิน หรือปล่อยฝูงแพะเลาะกิน พอช่วงเข้าฤดูแล้ง ปัญหาเริ่มเกิดขึ้น เกิดการช่วงชิงแหล่งอาหารของคนเลี้ยงแพะแกะและเลี้ยงวัว เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ขาดน้ำ ทำให้หญ้าหรือต้นไม้เหี่ยวแห้งตาย บางพื้นที่เกิดไฟป่า
เกษตรกรที่เลี้ยงแพะไล่ทุ่ง รวมถึงเกษตรกรเลี้ยงแพะคักคอกและตัดหญ้าหรือใบไม้มาให้แพะกิน ด้วยจุดประสงค์คือ ลดต้นทุนการเลี้ยง หรือความชอบส่วนบุคคล หรือชอบแบบวิธีตามธรรมชาติ ก็สุดแล้วแต่กรณี ทั้งหมดที่ขอเหมารวมคือการเลี้ยงแพะแบบไล่ทุ่ง ที่นี้ปัญหามันก็จะเกิดคือช่วงหน้าแล้ง เพราะอาหารขาดแขน เราจึงต้องมีวิธีรับมือเพื่อให้แพะสามารถเจริญเติบโต โดยน้ำหนักแพะไม่ซูบผอมลงไปมากและมีชีวิตถึงฤดูฝน ซึ่งถือเป็นเรื่องยากระดับหนึ่งเลย เพราะมีปัจจัยมาเกี่ยวข้องดังนี้
1.พื้นที่เกษตรกรมีอย่างจำกัด
2.พื้นที่ขาดระบบชลประธานและระบบไฟฟ้า
3.มีทุนไม่เพียงพอ
ขอเรียกว่ากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะชั้นล่าง
ส่วนเกษตรกรท่านอื่นที่มีปัจจัยครบ หรือพอมีแนวทางด้านเงินทุน คงไม่ใช้ปัญาแต่ที่ขาดคือความไม่รู้ที่จะจัดการมันยังไง ส่วนนี้ผมขอไม่พูดถึง ผมจะมุ่งเน้นไปที่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะชั้นล่าง จึงจำเป็นต้องใช้วิธีที่รวบรัดตัดตอนให้มีผลผลิตอาหารแพะเพียงพอภายใต้ข้อจำกัด 3ข้อที่กล่าวมา เรามาเริ่มแก้ไขปัญหากันเลย
1.แก้ปัญหาพื้นที่ทำกินของเกษตรกรมีอย่างจำกัด
เกษตรต้องแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกหญ้าและอาจต้องลดจำนวนแพะที่เลี้ยงลดลง ขึ้นกับว่สเกษตรกรมีทางออกแก้ปัญหาได้ระดับไหน
1.1 พื้นที่พอมีแนวทางสามารถหาได้เช่น มีพื้นที่รักร้างสามารถเช่าที่ได้หรือเจ้าของพื้นที่ให้ใช้โดยไม่เรียกค่าเช่าแพงจนเกินไป บางที่ก็ให้ใช้พื้นที่ฟรีก็มี ก็แค่อย่าให้พื้นที่มันรกจากหญ้าหรือต้นไม้ พื้นที่รกร้างของราชการ (ต้องตรวจสอบให้ดี ไม่ใช้พื้นที่ป่าที่ประกาศตามกฏหมายระวังด้วยข้อนี้) ปํญหานี้สามารถแก้ไขเลี้ยงอาหารแพะได้ ก็จะเข้าไปเรื่องการปลูกหญ้าและพืชตระกูลถั่วในหัวข้อด้านล่าง
รูปที่ 3 ความต้องการอาหารแพะต่อวัน/ตัว
1.2 พื้นที่จำกัดไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ทุกกรณี จำเป็นต้องแบ่งพื้นที่มาปลูกหญ้าเป็นหลัก(เน้นการปลูกหญ้า 100% เพราะต้องการปริมาณอาหาร) โดยพื้นที่ 1ไร่เลี้ยงแพะได้ 10 ตัว และจำเป็นต้องออกไปตัดหญ้าหรือใบไม้นอกพื้นที่มาให้แพะเพื่มเติม(ถ้าต้องการให้แพะมีน้ำหนักมากกว่า 35 กรัม/วัน/ตัว)
โดยใช้หลักการคือ หญ้า 1ไร่ เลี้ยงแพะได้ 10 ตัว เลี้ยงแพะได้น้ำหนัก 50 กิโลกรัม/ตัว กินหญ้าสด 7.5 กิโลกรัม/ตัว ผลผลิตหญ้าสดที่ปลูกได้/ปี 30,000กิโลกรัม นี้คือการคิดแบบต่ำสุด โดยเลือกหญ้าเนเปียร์เป็นหลัก ถ้ามีการจัดการดี ไม่ว่าการใส่ปุ๋ย พรวนดิน การให้น้ำ อาจเลี้ยงแพะได้มากกว่า 10 ตัว/ไร่ แน่นอน แล้วแพะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 35กรัม/วัน/ตัว
รูปที่4 ยกตัวอย่าง คำนวนอาหารแพะน้ำหนัก 50 กิโลกรัม
1.3 พื้นที่พอแก้ไขได้บ้าง แต่ไมได้มาก อันนี้ขึ้นกับได้พื้นที่มากแค่ไหน เช่นได้มา 10ไร่ อาจจะเพื่มหรือลดจำนวนแพะที่เลี้ยงให้มันเหมาะกับจำนวนพื้นที่เลี้ยง ยกตัวอย่างมีพื้นที่รวม 10ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ 5ไร่ปลูกหญ้า อีก5ไร่ปลูกพืชตระกูลถั่ว
โดยใช้หลักการจะคิดเพื่มเติมคือคือ หญ้า 1ไร่ เลี้ยงแพะได้ 15 ตัว เลี้ยงแพะได้น้ำหนัก 50 กิโลกรัม/ตัว กินหญ้าสด 5.25 กิโลกรัม/ตัว ผลผลิตหญ้าสดที่ปลูกได้/ปี 30,000กิโลกรัม นี้คือการคิดแบบต่ำสุด โดยเลือกหญ้าเนเปียร์ในการปลูกเช่นกัน
ส่วนถั่วจะเป็นการให้เสริม พื้นที่ปลูกถั่ว 5ไร่ เลี้ยงแพะได้น้ำหนัก 50 กิโลกรัม/ตัว ให้ใบถั่วสดตัวละ2.25กิโลกรัม/ตัว ผลผลิตถั่วสดที่ปลูกได้/ปี 12,500 กิโลกรัม
ดังนั้นแพะจะกินอาหารสด กินทั้งหญ้าและใบถั่ว 7.5กิโลกรัม/ตัว ทำให้แพะมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 50 กรัม/วัน/ตัว ผลผลิตใบถั่วสดอาจมากกว่านี้ ถ้าให้ น้ำ ปุ๋ย และอินทรีย์วัตถุในดินสูง เช่น กระถิ่น แค ถั่วพุ่มต่างๆ ถั่วแลบแลบ โสนต่างๆ ปอเทือง ไมยราบไร้หนาม ถั่วพร้าต่างๆ หมอน มะเดื่อ ชบา อัญชัญ
2.ปัญหาเรื่องน้ำและไฟฟ้า ถ้าพื้นที่นอกเขตชลประทาน และตอกย้ำด้วยการไม่มีไฟฟ้าใช้(เงินลงทุนที่จะซื้อแผงโซล่าเซลล์อาจไม่พอ) หนองน้ำธรรมชาติมีหรือไหม พื้นที่เจาะน้ำบาดาลมีไหม อันนี้ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่มันจะสอดคล้องกับพื้นที่มีอย่างจำกัด
ถ้าเลวร้ายสุดๆ น้ำไม่มีเลย ไฟก็ไม่มี แบบนี้ก็ต้องพึ่งพาหญ้าหรือใบไม้ป่าริมทาง หรือพื้นที่รกร้าง กรณีเดียวเลย
ก็อีกนั่นละ มันจะเพียงพอกับแพะที่เราเลี้ยงไหม ก็ต้องไปลดจำนวนแพะลงมาครับ ถ้าพอถูไถ่ไปได้ เช่นพอมีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่านมาบ้าง พูดง่ายๆพอมีน้ำมาใช้ปลูกหญ้า ที่สำคัญสุดคือไปเลือกหญ้าทนแล้งสุดๆมา หรือพืชตระกูลถั่ว หรือไม่ใช้ก็ได้ ขอให้มีโปรตีนสูง ทนแล้งต้องการน้ำน้อย เช่นมันสำปะหลังก็ตอบโจทย์ได้เลย เรื่องทนแล้ง โปรตีนจากใบมันก็สูง มีวิตามินมินแร่ธาตุครบชะด้วย ส่วนหญ้าอาจเลือก หญ้ารูซี่ กินนี เนเปียร์ เป็นต้น
3.ถ้าพื้นป่านอกพื้นที่ของเกษตรกรที่เลี้ยงแพะ มีแหล่งอาหารก็ถือว่าโชคดีอย่างมาก ยิ่งถ้ามีพืชหรือใบไม้โปรตีนสูงย่อมได้เปรียบ
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือการใช้กฎ 70:30 ในการจัดการพื้นที่ปลูกหญ้าและพืชตระกูลถั่ว รวมถึงพืชชนิดอื่นที่ให้โปรตีนสูงเช่น มันสำปะหลัง ถ้าจะพึ่งพาอาหารจากแหล่งธรรมชาติโดยไม่ปลูกพืชไว้เลย(ตัดหญ้าและใบไม้ให้แพะกินที่คอก) หรือจะซื้ออย่างเดียว เช่น ซื้อหญ้าเนเปียร์สับ ต้นข้าวโพดสับ รวมถึงซื้อกากถั่ว กากข้าวโพด กากเบียร์ ใบกระถินแห้ง ขึ้นอยู่กับการจัดการและกำลังทรัพย์ของเกษตรกรเอง
4.ทุนไม่เพียงพอ คงต้องแลกมาด้วยกำลังและการเชาะหา
อาหารแพะป่ารกร้าง หรือป่าริมทาง
สำคัญที่สุดที่เกษตรกรต้องทำความเข้าใจ
กฎ70:30 เกษตรต้องเข้าใจให้ดีว่า ตัวเลขฝั่งขวา 30 ไม่จำเป็นต้องให้พืชตระกูลถั่ว หรือพืชชนิดอื่น รวมถึงอาหารเม็ด อาหารTMR อาหารที่ทำขึ้นเอง ที่มีค่าโปรตีนสูงกว่า 15%(อนุโลมได้ โปรตีนไม่ต่ำกว่า 12% เยื่อใยปานกลาง ค่าย่อยได้ TDN ไม่ต่ำกว่า70%) เกิน 30 % เพราะถ้าให้มากกว่านี้น้ำหนักแพะก็ไม่ได้เพื่มสูงขึ้นตามจำนวนอาหารที่ให้มากนัก ถามว่าแพะมันเพื่มน้ำหนักได้ไหม น้ำหนักแพะเพื่มครับ ในทางกลับกันเราเอาอาหารส่วนเกินกว่า30% มาสำรองให้แพะในวันอื่นๆดีกว่าครับทำให้เราเลี้ยงแพะได้เพื่มขึ้นอีก
ส่วนตัวเลขฝั่งซ้าย 70 เป็นอาหารสด พวกหญ้า ใบไม้ ทั่วไป ไม่ว่าจะสด จะหมัก จะแห้ง ใช้ได้หมด ให้แค่ 70% พอ ถ้าขาดแขนอาหาร ให้อย่าง 100%(แพะจะมีน้ำหนักไม่มากหนักและอาจจะผอมถ้า หญ้าหรือใบไม้มีค่าโปรตีนต่ำกว่า 7% หรือให้อาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน)
ถ้าอาหารแพะมีไม่จำกัดและมีโปรตีนสูง สามารถจัดให้แพะกินให้เต็มที่ 100% เอาที่สบายใจได้ เช่นให้แพะกินกระถิ่นสดอย่างเดียว 100% แพะมีน้ำหนักได้ไม่ต่ำกว่า 50 กรัม/วัน/ตัว แค่นั้นละครับ
พบกันในบทความครั้งหน้ากับเกษตรผสมผสานบ้านนาทอง เกษตรกรเลี้ยงแพะสายเขียว ชีวิตแบบเซาะกราว
pg betflix auto ทางเข้ามือถือ สุดยอดความสนุกสุดแห่งเกมสล็อตออนไลน์ที่ไม่ควรพลาด PG Betflix Autoหากคุณเป็นคนที่หลงใหลในความสนุกของเกมสล็อตออนไลน์ และกำลังมองหาประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น
ตอบลบ