เมื่อแพะเจอต้นพังแหร สารพิษจะเป็นอันตรายกับแพะหรือไหม?
ต้นพังแหร
มีหลากหลายชื่อเช่น ปอหู ปอแหก ปอฮู้ ตามภาษาท้องถิ่น ต้นพังแหรเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์
ข้อมูลใบพังแหร (ปอหู ปอแหก ปอฮู้)
จากการค้นหาข้อมูลในสื่อโซเชียล พบว่ามีการอ้างอิง ถ้าเอายอดหรือใบต้นพังแหรให้แพะกินจะมีผลทำให้แพะตายได้ รวมถึงการรายงานของปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี มีการอ้างอิงเท่าที่ดูมา หน้าจะให้รายละเอียดมากสุดของประเทศแล้ว
ข้อมูลต่างประเทศที่มีงานวิจัยและรายงานผลใบพังแหร
ต่างประเทศมีรายงานเช่นกันแพะตายจากการกินใบพังแหร เนื่องจากต้นไม้วงศ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากแยกแยะได้ยาก รวมถึงสารพิษมีหลายระดับ อาจเกิดจากสภาพแวดล้อม และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เช่น ออสเตรเลีย บราซิล อินเดีย อเมริกา ลาว และไทยเป็นต้น
ประเทศบราซิลได้มีการวิจัยระดับความเข้มข้นสารพิษ ต่อระยะเวลาที่แพะกินใบสดเข้าไป และระยะเวลาที่แพะตาย โดยตรวจพบทางคลีนิค พบว่าตับมีรอยขาว และหนาแน่น รวมถึงเลือดคลั่งบริเวณหน้าอก และสมองส่วนต้น ระดับความเข้มข้นใบพังแหรเมื่อแพะกินใบสดมากกว่า 30กรัมต่อน้ำหนักแพะ 1 กิโลกรัมจะเกิดอันตราย
ประเทศอินเดียได้นำใบพังแหรเป็นวัตถุดิบหลักและไม่มีการเสริมอาหารข้นแต่อย่างใด ให้แพะกิน โดยมีค่าโภชนาที่ 34.0, 86.70, 19.00, 11.00,
50.20, 6.50, 13.30, 1.90 และ 0.22 %ของ DM, OM, CP, CF, NFE, EE, TA, Ca และ P, ตามลำดับ ใบพังแหร มีความหน้ากินสูงโดยมีโภชนาเพียงพอสำหรับการเติบโตแพะ
ศูนย์วิจัยพัฒนาอาหารสัตว์นราธิวาสได้วิเคราะห์โภชนาใบพังแหรไว้ดังนี้ 93.53, 14.13, 20.42, 47.37, 38.41, 30.17, 1.78, 7.71, 9.83
%DM, CP, CF, NFE, NEF, ADF, Fat, Lignin, Ash
ความคิดเห็นเกษตรผสมผสานบ้านนาทอง
ทางเกษตรผสมผสานบ้านนาทอง พบว่าข้อมูลไม่ชัดเจนไม่ลงรายละเอียด เช่นระดับความเข้มของสารพิษเท่าไรถึงส่งผลกระทบกับตัวแพะ และโรคทางคลีนิคที่แสดงออกมาจากตัวแพะหลังได้กินใบพังแหรสด รวมถึงการผ่าซากแพะที่เจาะจงในส่วนต่างๆของอวัยวะแพะนอกจากตับ รายงานและผลงานวิจัยเกี่ยวกับใบพังแหรในประเทศไทยของหน่วยงานย่อยกรมปศุสัตว์ยังไม่มีรายงานออกมาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเข้าใจผิดไปมากกว่า รวมถึงการรับรู้ผ่านช่องทางโซเชียลขยายวงกว้าง พูดปากต่อปากจนเข้าใจผิดไปซะหมด
ในฐานะที่เกษตรผสมผสานบ้านนาทอง เป็นผู้เลี้ยงแพะโดยตรง และมีประสบการณ์นำใบพังแหรมาเลี้ยงแพะ จะมาเล่ากล่าวประสบการณ์ให้ฟัง
ไม่ว่าตัดทั้งต้น ให้กินแบบอาหารหยาบสด หรืออาหารหยาบแห้ง(ตากแดด 2แดด ให้แห้ง) และใบแห้งที่ล่วงหล่นพื้น
แพะเป็นสัตว์ป่าและลักษณะการดำรงชีวิต
ก่อนอื่นเกษตรผู้เลี้ยงแพะต้องทำความเข้าใจ ถึงพฤติกรรมของสัตว์ มันจะรับรู้โดยสัญชาตญาณว่า หญ้าหรือใบไม้ชนิดไหน ควรกินหรือหลีกเลี่ยง ชนิดไหนกินมากชนิดไหนกินน้อย ซึ่งแพะเองเป็นสัตว์กินอาหารได้หลากหลาย และมันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะกินทุกอย่างที่กว้างหน้ามัน แพะเป็นสัตว์ป่ามาก่อน มันรับรู้ถึงความปลอดภัยสิ่งที่มันกินได้
ต้นพังแหร(ปอหู ปอแหก ปอฮู้)กับการเลี้ยงแพะไล่ทุ่ง
กลับมาที่เรื่องต้นพังแหร พื้นที่เลี้ยงคอกแพะของเกษตรผสมผสานบ้านนาทอง มีต้นพังแหรเกิดขึ้นทั่วบริเวณรวมถึงพื้นที่ใกล้เคียง เพราะนกมันชอบมาเกาะที่ต้นพังแหร มากินเมล็ดของต้นพังแหร ทำให้ชาวบ้านมายิงนกไปกิน ส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านจะไม่ตัดต้นพังแหรทิ้ง มันมีประโยชน์คือเอาไว้ล่อนก หรือไหมพื้นที่มีการทำสวนทำไร ก็อาจมีการตัดต้นพังแหรลงในกรณีนี้เท่านั้น
คอกแพะของเรา เวลาปล่อยไล่ทุ่ง ถ้าเดินผ่านต้นพงแหรมันจะแวะไปที่ต้นพังแหรทันที โดยแพะจะปีนโน้มกิ่งลงมาเพื่อกินใบสดของมัน หรือเก็บกินใบพังแหรแห้งที่ล้วงล้นลงพื้น
แพะประเภทไหนละที่กินใบพังแหร
แพะที่คอกของเกษตรกรผสมผสานบ้านนาทอง
มีทุกระยะเลย เช่น ลูกแพะอายุ 3เดือนขึ้นไป พ่อพันธุ์แพะ แม่พันธุ์แพะ แม่แพะตั้งท้อง แม่แพะให้นม จะเห็นว่าแพะทุกช่วงอายุกินหมด
จากการสังเกตพบว่า เป็นใบไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่แพะชื่นชอบมากอยู่ในระดับต้นๆเลยก็ว่าได้ แพะที่คอกเมื่อกินใบพังแหรแล้ว ไม่พบอาการผิดปกติใดๆ การกินได้ปกติ กินน้ำปกติ ตัวไม่สั่นหรือกระตุกแต่อย่างใด ไม่ชัก ไม่ท้องอืด คลอดลูกแพะก็ปกติ แพะออกลูกมาร่างกายก็สมบูรณ์ดี
ทั้งนี้เนื่องจากคอกแพะ ของเราเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย แต่จะเน้นหนักไปทางไล่ทุ่งเป็นหลัก แพะเองจะกินอาหารหลากหลายและหลายชนิด ซึ่งทำให้สารพิษในใบพังแหรเจือจาง อยู่ในระดับต่ำจนไม่ส่งผลที่ตัวแพะและ "กลับส่งเสริมภูมิคุ้มกันมากกว่า หรือ ทำให้แพะเพื่มความต้านทานโรคเพิ่มขึ้มนั้นเอง"
การที่แพะได้กินสารพิษที่ได้รับจากหญ้าหรือใบไม้ ที่มันผลิตขึ้นมา ถ้าเราตั้งใจให้กินเยาะ อาจทำการลดสารพิษให้ลดลงอยู่ในระดับต่ำก่อน โดยการตากแดด 1-2แดด ต้ม หรือวิธีหมัก ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะยังกังวล ก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะการเลี้ยงแพะด้วยการเสริมใบพังแหร เกษตรผสมผสานบ้านนาทอง ถือว่าเป็นการเพื่มความต้านทานโรคให้แพะเพราะถือว่าใบพังแหรเป็นอีก 1สมุนไพร และใบพังแหรมีโปรตีนและพลังงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
สรุปประเด็ดต้นพังแหรครบมิติ เพื่อการเลี้ยงแพะ
จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ประเทศไทยและต่างประเทศ มีข้อมูล 2ด้าน คือควรระวังหรือตัดทำลาย ส่วนอีกด้านคือใช้เป็นวัตถุดิบให้แพะกิน เกษตรบ้านนาทองได้นำเสนอข้อมูลทั้ง 2ด้านให้ครบมิติ เพื่อให้เกษตรกรได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน แล้วตัดสินใจต่อการเลี้ยงแพะของเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเอง
ถือว่ามาแชร์ประสบการณ์การเลี้ยงแพะ เล่าสู่การฟัง ไม่ต้องกลัวหรือกังวลจนเกินเหตุ บางที่ข้อมูลในโลกโซเชียล มีข้อมูลยังไม่คลอมคลุมหรือ มีข้อมูลที่ขาดหาย ข้อมูลที่ยังไม่ปรากฎ สิ่งที่เป็นรูปธรรมคือ การลงมือทำและสัมผัสเรื่องนั้นๆ ด้วยตัวของเกษตรกรเอง จะได้รับข้อมูลว่าใช้หรือไม่ใช้ จริงเท็จประการใด มีวิดิโอให้เกษตรดูว่าที่คอกแพะของเราใช้เลี้ยงแพะได้จริง
แล้วพบกันไหมในบทความหน้า สวัสดี
เอกสารอ้างอิงท่านใดอยากได้รายละเอียดเพื่มขึ้น
1.Barbera R., Trovato A. & Raspirada A. 1992. Analgesic and anti-inflammatory
activity in acute and chronic conditions of Trema micrantha Blume extracts
in rodents. Phytotherapy Research 6:146-148.
2.Braga M.B., Castilhos L.M.L. & Santos M.N. 1985. BiÛpsia hep·tica em bovi-
nos: proposta de nova tÈcnica. Revta Centro CiÍnc. Rurais, Santa Maria,
15(1):79-88.
3.Canella C.F.C., Tokarnia C.H. & Dˆbereiner J. 1968. IntoxicaÁ„o por Sessea
brasiliensis Toledo em bovinos. Pesq. Agropec. Bras. 3:333-340.
4.Castellani E.D. & Aguiar I.B. 1998. Preliminary conditions for germination of
Trema micrantha (L.) Blume seeds. Revista Brasileira de Engenharia AgrÌcola
e Ambiental 2(1):80-83.
5.Colodel E.M., Driemeier D. & Pilati C. 2000. IntoxicaÁ„o experimental pelos
frutos de Xanthium cavanillesii (Asteraceae) em bovinos. Pesq. Vet. Bras.
20(1):31-38.
6.Dˆbereiner J., Tokarnia C.H. & Canella C.F.C. 1969. IntoxicaÁ„o por Cestrum
laevigatum Schlecht., a causa da mortandade em bovinos no Estado do Rio
de Janeiro. Pesq. Agropec. Bras. 4:165-193.
7.Dˆbereiner J., Tokarnia C.H. & Purisco E. 1976. Vernonia mollissima, planta
tÛxica respons·vel por mortandades de bovinos no sul do Mato Grosso.
Pesq. Agropec. Bras. 11:49-58.
8.Driemeier D., Irigoyen L.F., Loretti A.P., Colodel E.M. & Barros C.S.L 1999.
IntoxicaÁ„o espont‚nea pelos frutos de Xanthium cavanillesii (Asteraceae)
em bovinos no Rio Grande do Sul. Pesq. Vet. Bras. 19(1):1-13.
9.Dutra F., Riet-Correa F., MÈndez M. C. & Paiva N. 1997. Sawfly (Perreya flavipes)
larvae poisoning of cattle and sheep in Uruguay. Vet. Human Toxicol.
39(5):281-286.
10.Gava A. 2000. ComunicaÁ„o pessoal (LaboratÛrio de Patologia Animal, UDESC,
Lages, SC).
11.Gava A., Stolf L., Pilati C., Neves D.S. & ViganÛ L. 1991. IntoxicaÁ„o por Cestrum
12.Castillo, L.S., Abenir, E.E., Palo, L.P., Gerpacio, A.L., Pascual,
F.S. and Mercado, C.I. 1982. Digestibility and nitrogen
balance studies on anabiong silage for ruminants.
Executive summary and annual report for Dairy Training
Research Institute, Los-Banos.
13.Castillo, L.S., Roxas, D.B., Chavez, M.A. and Momongan, V.G.
1996. Abstract of completed studies, digestibility and
nitrogen balance studies on Anabiong (Trema spp.)
soilage for ruminants. PCC at UPLB. 14.College, Laguna.
(Web site – http/w.w.w. pec. Da gov. ph).
Chaudhary, J.L., and Kumawat, J.R. 2004. Nutritive value of
Ardu (Alianthus excelsa Roxb.) leaves in sheep and
goats. Indian J. Anim. Nutr., 21 (1): 56-59.
15.Datt, Chander., Datta, M., and Singh, N.P.2008. Assessment
of fodder quality of leaves of multipurpose trees in
subtropical humid climate in India. J. Forestry.
Research.19(3):209-214.
16.Devendra, C., and Burns, M. 1983. Goat production in the
tropics. Commonwealth Agricultural Bureaux, England.
pp. 183.
17.กรมปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น