เลี้ยงแพะให้โตกับทุกช่วงอายุแพะ ด้วยBCS

เลี้ยงแพะให้โตกับทุกช่วงอายุแพะ ด้วยBCS

เลี้ยงแพะให้แข็งแรง โตดี ย่อมส่งผลให้แพะห่างไกลจากโรค ลูกแพะที่กำลังอย่านม แพะขุน แพะหนุ่มสาวที่เข้าสู่ช่วงผสมพันธุ์ แม่แพะที่ตั้งท้อง แม่แพะให้นม พ่อพันธุ์แพะ ต้องการอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ แตกต่างกันไป 
  ทุกอย่างที่เราจัดหาอาหาร ให้แพะกิน ไม่ว่า หญ้าสดที่ใช้ให้สัตว์โดยเฉพาะ หญ้าสดจากธรรมชาติ หญ้าแห้ง ใบไม้ต่างๆ อาหารข้นสำเร็จรูป อาหารข้นผสมเอง รวมถึงอาหารTMR เมื่อแพะกินเข้าไปมันจะสะสมไขมันและกล้ามเนื้อ
เรามาทำความเข้าใจ ประโยชน์และการนำใช้ BCS เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการคอกแพะของเรากัน

    BCS คือการให้คะแนนร่างกายสุขภาพ ว่า ผอม อ้วน ในระยะไหน โดยดูจากการสะสมไขมันและกล้าม เราจะพิจารณาจุดที่จะวัดผล 3บริเวณ

  1.บริเวณส่วนเอว 

จะอยู่บริเวณกระดูกสันหลังซี่โครงกระดูกสุดท้ายกับสะโพกจุดนี้ก็จะแยกย่อยลงไปอีก 2ส่วน คือกระดูกแนวตั้ง เรียกว่า( Spinous process ) ดูภาพที่1

ภาพที่ 1. กระดูกแนวตั้ง เรียกว่า( Spinous process )
Cr.from Ethiopia Sheep and Goat
productivity Improvement Program
(ESGPIP)

 และกระดูกแนวนอนเรียกว่า( transverse process) ดูภาพที่2

ภาพที่ 2. กระดูกแนวตั้ง เรียกว่า(transverse process )
Cr.from Ethiopia Sheep and Goat
productivity Improvement Program
(ESGPIP)

 เราจะให้น้ำหนักไขมันและกล้ามเนื้อรอบๆที่หุ้มกระดูก ยิ่งผอมมาก เวลาจับจะรู้สึกได้เลยว่าหนังหุ้ม เพราะไขมันและกล้ามเนื้อรอบๆกระดูกมีการสะสะไขมันและกล้ามเนื้อน้อยนั้นเอง ขณะเดียวกันถ้าแพะอ้วนมาก เวลาจับจะรู้สึกว่ามีแต่กล้ามเนื้อและไขมันหนาหุ้มกระดูกอยู่อย่างชัดเจน ทั้งกระดูกแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งจะสัมพันธ์กับแนวตัดของกระดกทั้ง2 จะมีไขมันกล้ามเนื้อหรือเรียกว่าเนื้อสันหลัง การให้คะแนนจุดนี้มี BCS 1-BCS5 ดูรูปที่3 จะเข้าใจยิ่งขึ้น 


รูปที่3 ภาพประกอบการให้คะแนนBCS1-BCS5
Cr: from Dr. Albert Leslie, APHIS, USDA Veterinarian




  2.พื้นที่ส่วนหน้าอก 

เรียกว่า สเตอร์นัม(sternum) ดูภาพที่4 จะมีไขมันและกล้ามเนื้อหุ้มกระดูกหนกไวเช่นกัน แพะผอมจับดูแทบจะมีแต่กระดูก ส่วนแพะอ้วนหรือสมบูรณ์จะมีแต่ไขมันและกล้ามเนื้อหุ้ม เราใช้พื้นที่ส่วนหน้าอก เป็นคะแนนเสริมเท่านั้น 
ภาพที่ 4. พื้นที่หน้าอก เรียกว่า( sternum area )
Cr.from Ethiopia Sheep and Goat
productivity Improvement Program
(ESGPIP)

   3.พื้นที่ส่วนกระดูกซี่โครง 

เราสนใจไขมันและกล้ามเนื้อระหว่างซีกโครง โดยทั่วไปเราสังเกตุจากการดูรูปร่างแพะก็พอจะบอกได้ ถ้ามองแล้วเห็นกระดูกซี่โครงชัด แพะมันผอมแน่ๆ ถ้ามองแล้วไม่เห็นซี่โครงแสดงว่าแพะสมบูรณ์ดี วิธีนี้สำหรับแพะไม่ต้องจับดูก็ได้ กรณีจับก็ทำได้เช่นกัน แพะผอมเวลาเราเอามือไปจับบริเวณร่องซี่กระดูกซี่โครงมันจะบุบลงไป(ไขมันและเนื้อน้อย ทำให้เห็นร่องลึก และทำให้กระดูกซี่โครงโนนเด่ด ) แพะอ้วน ไขมันและกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงจะเต็มร่องตื้น ทำให้ไม่เห็นกระดูกซี่โครง ขึ้นกับระดับความสมบูรณ์แพะ พื้นที่ส่วนกระดูกซี่โครงจะใช้เป็นคะแนนเสริมเช่นเดียวกัน

เหตุผลที่ต้องใช้ BCS กับการเลี้ยงแพะ

1.ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะแยกแพะผอมหรือแพะอ้วนออกจากฝูง เพื่อจัดการเรื่องสุขภาพง่ายขึ้น
2.บ่งบอกการเพื่มหรือลดปริมาณอาหารสัตว์
3.เป็นตัวชี้วัดหรือตรวจสอบเบื้องต้นแพะเสี่ยงต่อการเป็นโรคและมีพยาธิ 
4.เป็นตัวชี้วัดคุณภาพอาหาร ว่าเพียงพอหรือด้อยคุณภาพ นำไปใช้กับหญ้าสดธรรมชาติ หญ้าพืชสัตว์ ใบไม้ อาหารสำเร็จรูป อาหารข้น อาหารTMR อาหารสัตว์ทุกประเภท มันจะสะท้อนคุณภาพอาหารสัตว์ และปริมาณ ผ่านการสะสมไขมันและกล้ามเท่านั้น(ดูวิธีการให้คะแนนBCS)
วิธีตรวจเช็คและให้คะแนนBCSเพื่มเติมสามารถกดดูวีดิโอเพื่อทำความเข้าใจด้านล่างบทความนี้

    ช่วงคะแนน BCS ต่อผลกระทบต่อตัวแพะและการแก้ไข

จากรูปที่5 จะแบ่งพื้นเป็น3ส่วน พื้นที่สีแดง สีเขียวและสีเหลือง

พื้นที่สีแดง คือช่วงคะแนนBCSต่ำกว่า  BCS<2

 บ่งบอกปัญหา
1.แพะได้รับอาหารน้อยลงหรืออาหารคุณภาพไม่ได้(โปรตีนและพลังงานต่ำไป ความหน้ากินต่ำ เยื่อใยสูง การย่อยโภชนาการต่ำ อาหารมีสารพืชจากเชื้อราหรือแบคทีเรีย)
2.แพะป่วย เช่นท้องเสีย ท้องร่วง ไข้ หวัด มีเชื้อรา แบคทีเรียในร่างกายทำให้อวัยภายในอักเสบ แพะเป็นพยาธิภายนอก ทำให้แพะกินอาหารนอนลง จากที่แพะคันและนอนหลับไม่เพียงพอ และพยาธิภายใน มีพยาธิอยู่ในระบบอวัยวะภายใน ทำให้แพะท้องเสีย ลำไส้อุดตัน พยาธิเกาะหรือสร้างความเสียหายในปอด ตับ ลำไส้ กระเพราะ เป็นต้น
การแก้ไข
1.เพื่มอาหารสัตว์หรือปล่อยไล่ทุ่งนานขึ้น ควรเสริมพืชตระกูลถั่ว20-30%ให้แบบกินอาหารสด
ส่วนเกษตรกรให้อาหารสำเร็จรูป ต้องเพื่มอาหาร หรืออาหารมีเชื้อราหรือแบคทีเรีย รวมถึงคุณภาพอาหารหมดอายุนานแล้ว และโปรตีนและพลังงานไม่ถึงตามที่โฆษณา การลักลอบปลอมแปลงอาหารสัตว์ การจัดเก็บอาหารไว้ที่แห้งป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย
ส่วนอาหารข้น และอาหารTMR ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะผลิตขึ้นเอง ต้องไปตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ประกอบสูตรอาจมีการเจือป่นสารหรือวัสดุแปลกปลอมเข้าไป รวมถึงวิธีการจัดการเก็บการเก็บเกี่ยวและระยะเวลาตัดพืช ใบไม้ พืชตระกูลหัวใต้ดิน เพื่อคงคุณภาพอาหารให้สูง ลดสารพิษในพืชบางชนิดที่มีก่อนผสมอาหาร และลดเยื่อใย ทำให้วัตถุดิบทั้งหมดมีโภชนาการย่อยได้สูง
2.คัดแยกแพะผอมออกจากฝูงเพื่อลดการติดโรคและพยาธิ เพื่อรักษาโรคและพยาธิตามลักษณะโรคและพยาธิ(ติดตามบทความต่อไป)


รูปที่ 5 ภาพช่วงสีและคะแนนBCS

พื้นที่สีเขียว คะแนนBCS 2.5 - 4

แพะที่มีคะแนนBCS ช่วงนี้ แพะจะมีการสะสมไขมันและกล้ามเนื้อที่ดี สุภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรคและพยาธิต่างๆได้ดี และเติบโตตามช่วงอายุแพะได้อย่างเหมาะสม บ่งบอกถึง เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะติดตามและจัดการคอกแพะได้ดี 
  ลูกแพะอย่านมได้ไว้ขึ้น
  แพะขุนได้น้ำหนักตัวดี
  แพะหนุ่มสาวพร้อมผสมพันธุ์ ติดสัดไวขึ้น
  แม่แพะกลับสัดได้ไว 
  แพะผสมติดง่าย คลอดง่าย
  แม่แพะหลังคลอดมีน้ำนมให้ลูกแพะสูง

  พื้นที่สีเหลือง คะแนนBCS >4

แพะมีการสะสมไขมันและกล้ามเนื้อสูงเกินความเหมาะสมต่อการผสมพันธุ์ ส่วนแพะขุนถือว่าทำกนักหนักตัวได้ดี
บ่งบอกปัญหา
1.พ่อแม่พันธ์แพะ ผสมติดยาก ไม่ค่อยติดสัด
   คลอดลูกยาก
2.ลูกแพะอายุ 6 เดือน -1.5ปี ไม่มีอาการติดสัด ติดสัดน้อย ถ้าท้องก็คลอดลูกยาก
การแก้ไข
1. ลดอาหารสัตว์ลงหรือให้ห่างขึ้น

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนBCS กับช่วงการเจริญเติบโตแพะในระยะต่างๆ

 
  จะเห็นว่า BCS มีข้อดีหลายประการจะสรุปเพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเข้าใจ และการนำ BCS ไปใช้ทางปฎิบัติ ลงมือทำจริง จะอธิบายเพื่มเติมถึงวัฎจักรระยะการเติบโตของแพะต่อคะแนนBCS ตามระยะต่างๆ เป็นการขยาย ช่วงแถบสีBCS ดังนี้ ดูภาพที่6


รูปที่6 กราฟการเปลี่ยนแปลง Body Condition Score ตลอดรอบการผลิต 


ช่วงท้องว่าง
  แพะอย่านม,แพะระยะขุน,แพะตัวผู้ตัวเมียก่อนผสมพันธุ์,แม่แพะกลับสัดใหม่ ทั้งหมดนี้คือความหมาย ช่วงท้องว่าง ต้องการ BCS >2(มากกว่า 2) ถ้าจับการสะสมไขมันและกล้ามเนื้อบริเวณส่วนเอวได้คะแนนต่ำกว่า BCS<2 ให้เพื่มอาหารและคุณภาพอาหารให้ดี ถ้าไม่ใช้ด้านอาหารก็จะเป็นด้านโรคและพยาธิ ให้ทำการคัดแยกและรักษา
ช่วงผสมพันธุ์
 ต้องการBCS >3(มากกว่า3) ถ้าคะแนนBCSต่ำกว่า 3 ให้เพื่มอาหารและคุณภาพอาหาร แพะจะติดสัดช้า แรงที่ทำกิจกรรมเล้าโรมไม่มี ประมาณว่าหมดแรง ถ้าคะแนนBCSสูงกว่า3 ให้ลดอาหารลง จะทำให้แพะติดสัดไว พร้อมผสมพันธุ์
ช่วงระยะตั้งท้องใหม่ ต้องการBCS=3 ถ้าคะแนนBCSต่ำกว่า 3 ให้เพื่มอาหารและคุณภาพอาหาร ให้แม่แพะสะสมพลังงานและโปรตีนส่วนเกินไว้สำหรับขบวนการที่ลูกแพะจะดึงสารอาหารผ่านรก ช่วงนี้แม่แพะยังมีเปลี่ยนแปลงทางร่างกายคงที่อยู่ อาหารยังกินไม่เยาะ
ช่วงระยะตั้งท้อง ใกล้คลอด ต้องการBCS>3.5
เป็นช่วงที่ลูกแพะเจริญเติบโตได้รวดเร็ว และต้องการสารอาหารสูง เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะต้องควบคุมอาหารด้วยการเพื่มอาหารต่อวันให้สูงขึ้น เพื่อให้แม่แพะสะสมพลังงานและโปรตีนส่วนเกินสร้างเสริมขบวนการน้ำนม แม่แพะจะมีน้ำนมสูงหลังคลอดและส่งผลต่อน้ำหนักแรกเกิดแพะสูงขึ้น แม่แพะต้องไม่ผอม ไม่อ้วนจนเกินไป ถ้าBCS>3.5 แม่แพะจะคลอดลูกยาก และอาจทำให้ลูกแพะตายได้ ต้องลดอาหารลงมาเท่านั้น
ช่วงระยะให้นมแรกเกิด ต้องการBCS<2.5 
เป็นระยะที่แม่แพะมีร่างการซูบผอมลง เป็นกลไกปกติของแม่แพะ เพราะลูกแพะกินนม ดึงสารอาหารจากแม่ ขณะเดียวกันต้องเสริมอาหารที่มีพลังงงานและโปรตีนสูงรวมถึงวิตามินและแร่ธาตุ ปกติให้กินหญ้าสดเสริมพืชตระกูลถั่วไม่เกิน30% จะเพียงพอต่อแพะพื้นเมืองและแพะลูกผสมเลือดพื้นเมือง25% ส่วนแพะพันธุ์ไม่ว่าเลือดต่ำหรือสูง ต้องเพื่มอาหารข้น มิฉะนั้นแล้วแม่แพะจะมีนมน้อย แพะขาลาก เกิดจากอาหารไม่สมดุล ส่งผลไปยังประสาท รวมถึงอาจเป็น โคตีซีท ด้วย ลูกขาดนม และตาย ต้องจัดการ วางแผนให้ดี สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะพันธุ์ในสายเลือดระดับต่างไป ยิ่งเลือดสูง ต้องเพื่มการใส่ใจ ดูแลเป็นพิเศษ
ช่วงระยะให้นมระยะสุดท้ายก่อนอย่านม ต้องการBCS<2 การจัดการดูแล รักษาและโรคเหมือนกับช่วงระยะให้นมแรกเกิดทั้งหมด ต้องเพื่มอาหารต่อวัน
     บทความนี้มีวีดิโอเสริมเกี่ยวกับคะแนนสมบูรณ์ร่างกาย Body Condition Score หรือBCS. แล้วพบกันใหม่ในบทความครั้งหน้า



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมื่อแพะเจอต้นพังแหร สารพิษจะเป็นอันตรายกับแพะหรือไหม?

กฎ 70:30 สำหรับเลี้ยงแพะไล่ทุ่ง

ใบพุทราเลี้ยงแพะดีมาก!!!