ทำอาหาร TMR เลี้ยงแพะ ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น

 ทำอาหาร TMR เลี้ยงแพะ ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น
    

     ก่อนที่จะไปผสมอาหารTMR ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น มาทำความรู้จักก่อนว่ามันคืออะไร ทำอย่างไร ใช้แบบไหน ตรวจเช็คคุณภาพอาหารเป็นยังไง เพื่อให้แพะที่เลี้ยงเติบโตดี
    อาหารTMR ย่อมมาจาก Total Mix Rotion 

รูปที่ 1 ความหมาย TMR
     เป็นอาหารหยาบและอาหารข้นผสมเข้าด้วยกัน
ด้วยสัดส่วนอาหารหยาบและอาหารข้นที่เหมาะสม
ดังนั้น อาหารTMR=อาหารหยาบ+อาหารข้น
  ...สัดส่วนต้องเหมาะสม  

รูปที่ 2 ส่วนประกอบอาหาร TMR

  อาหารหยาบหมายถึง 

     อาหารพืชสด อาหารหมักที่มีหญ้าหรือใบไม้ กิ่งก้านลำต้น ที่มีความชื้นสูง เยื่อใยสูง โปรตีนต่ำ พลังงานต่ำ ส่วนอาหารหยาบแห้ง หญ้าหรือใบไม้ ตากแดดลดความชื้นจนแห้ง มีความชื้นต่ำ อาหารหยาบถือว่าสำคัญกับแพะมาก ถือเป็นอาหารหลักเลยครับ 

รูปที่3 อาหารหยาบ

  อาหารข้นหมายถึง 

    อาหารที่มีค่าพลังงานหรือโปรตีนสูง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งสูง เยื่อใยต่ำ การย่อยได้ดี เช่นเมล็ดธัญพืชต่างๆ รวมถึงหัวมัน ข้าวโพด ข้าวต่างๆ รวมถึงเศษเหลือจากขบวนการแปลงวัตุดิบ เช่น กากถั่วต่างๆ 

รูปที่4 อาหารข้น

    สัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้น

   เรามาขยายความ สัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้น ควรอยู่ที่เท่าไร ปกติทั่วๆไป 70:30 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่ใช้เลี้ยงแพะ จะเห็นว่า แพะที่ต้องการโภชนาต่ำ เมื่อกินอาหารสัดส่วนนี้เข้าไปจะทำให้แพะอ้วน ขณะเดียวกันถ้าแพะต้องการโภชนาสูง ก็จะทำให้แพะผอมลง เกษตรผู้เลี้ยงแพะต้องสังเกตุและเพื่ม/ลดอาหาร ส่วนแพะขุน หรือแพะที่ให้ผลผลิตนม สัดส่วนจะเป็น 60:40 เป็นต้น

รูปที่5 อัตราส่วนอาหารหยาบและอาหารข้น


คุณภาพอาหาร TMR ประกอบไปด้วย

 1.มีโภชนาเพียงพอ โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ 
2.แพะสามารถดูดซึมหรือย่อยได้ดี ระวังอาหารที่มีเยื่อใยสูงจะทำให้แพะกินได้น้อยลง เพราะใช้เวลาในการย่อยนาน
 3.อาหารต้องมีสารพิษน้อย ต้องลดหรือสลายสารพิษของพืชบางชนิด ด้วยการตากแดด ต้ม หรือหมัก เพื่อป้องกันแพะ อาจป่วย ภูมิคุ้มกันน้อยลง อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ และอาจทำให้แพะตายได้
4.อาหารมีความหน้ากิน  ประกอบไปด้วย (กลิ่น รสชาติ ขนาด ฝุ่น) ทำให้แพะกินอาหารได้มากขึ้น 

 อาหารหยาบคุณภาพดีไปใช้เลี้ยงแพะ เป็นอย่างไร

  ถ้าหญ้าหรือใบไม้ที่ใช้เลี้ยงแพะมีคุณภาพดี (หญ้ามีใบมากกว่าลำต้น อายุตัดช่วง40-75วัน หญ้ามีโปรตีนสูง ใบไม้ก็เช่นกัน ส่วนใบไม้ดูแค่ใบไม่แก่มาก และใบไม้นั้นๆมีโปรตีนสูง)

รูปที่6 อาหารคุณภาพดี

    ถ้าแหล่งอาหารเข้าเงื่อนไขตามรูปที่ 6 เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ไม่ต้องใช้อาหารTMR หรืออาหารข้นเลย โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะต้องจัดการอาหารเพื่มเติมนิดหน่อยดังนี้
  หญ้าเลี้ยงแพะ 70% + ใบไม้ 30%
    ใบไม้เน้นให้เป็นพืชตระกูลถั่วจะดีมากๆ

  การจัดการอาหารเลี้ยงแพะ(อาหารหยาบคุณภาพดี)


รูปที่7 อาหารเลี้ยงแพะ
   ส่วนใครยังงงๆอะไรคือ BCS เข้าไปอ่านบทความคะแนนร่างกายสมบูรณ์แพะ หรือคลิกตรงนี้ได้เลย เครื่องมือเลี้ยงแพะ
   ตอนนี้ก็มาถึงการทำอาหารTMR ของเกษตรผสมผสานบ้านนาทอง ที่เราทำใช้ขึ้นเองในคอกแพะของเรา

ส่วนประสมหลัก

1.ใบฉำฉา (ใบรวมก้าน)  1 ส่วน
2.ใบมะขาม(ใบรวมก้าน) 1 ส่วน
3.ใบถั่วแฮ 1 ส่วน
4.รำหยาบ 1 ส่วน
5.ส่าเหล้า 3 ส่วน

รูปที่8 ส่วนผสมอาหาร TMR ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น

ขั้นตอน 

 นำวัตถุดิบทั้งหมดผสมให้เข้ากัน ความชื้นประมาณ60 % สัมผัสดูจะออกไปแนวแห้งมากกว่าเปียก เป็นอันเสร็จ เอาไปให้แพะกินได้เลย ตั้งแต่ระยะแพะหย่านมขึ้นไป
  ถ้าให้แพะเริ่มกินครั้งแรก แพะอาจยังไม่ค่อยกิน ต้องฝึกประมาณ 7-14 วัน แพะจะเริ่มชิมและกินครับ
   เกษตรผสมผสานบ้านนาทอง จะให้แพะช่วงเช้า ให้กินก่อนปล่อยแพะลงทุ่งนาเพื่อกินหญ้าธรรมชาติ ถ้าอาหารธรรมชาติมีน้อยเราอาจต้องให้ทุกๆวัน ขึ้นกับความสมบูรณ์พื้นที่เลี้ยงแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจสงสัยให้เวลาอื่นได้ไหม ได้ครับเอาที่เกษตรกรสะดวกเลยครับ
   กรณีไม่มีวัตถุดิบเหมือนเกษตรผสมผสานบ้านนาทอง สามารถดัดแปลงหรือหาพืชท้องถิ่นที่เรามี คือพืชตระกูลถั่วเป็นชนิดไหนก็ได้ หรือหญ้า แต่หญ้าต้องมีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 10% ส่วนส่าเหล้า ก็ให้ใช้เมล็ดธัญพืชที่หาง่ายราคาถูกรวมถึง กากถั่วต่างๆ ฝุ่นข้าวโพด กากเบียร์ หรือมันหมักยีสต์(ข้าวโพด กากมัน ฝุ่นข้าวโพด) แทน และต้องเสริม พรีมิกซ์(วิตามินและแร่ธาตุ) 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือ 2 กำมือ

รูปที่9 สูตรดัดแปลงอาหาร TMR ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น

 ส่วนพืชตระกูลถั่วจะรวบรวมไว้ในบทความต่อไปเพื่อไว้ปรับปรุงสูตรอาหาร
    บทความนี้มีคลิป พาทำอาหารTMR เลี้ยงแพะ ด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น คลิกเข้าไปดูได้เลยครับ


พบกันในบทความครั้งหน้าครับ สวัสดี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เมื่อแพะเจอต้นพังแหร สารพิษจะเป็นอันตรายกับแพะหรือไหม?

กฎ 70:30 สำหรับเลี้ยงแพะไล่ทุ่ง

ใบพุทราเลี้ยงแพะดีมาก!!!